หลักการทำของรีโมทเซนซิ่ง


ผังการทำงานพื้นฐาน
โดยปกติผังการทำงานพื้นฐานของระบบ RS ร่วมกับ GIS (เรียกว่า “ระบบภูมิสารสนเทศ”) จะเป็นดังนี้
แหล่งข้อมูล Sources --> เครื่องตรวจวัดจากระยะไกล --> การปรับแต่งและแก้ไขข้อมูล --> การวิเคราะห์และแปลข้อมูล --> การแสดงผลและสร้างฐานข้อมูล --> การใช้ประโยชน์ข้อมูลโดยเทคนิคทาง GIS

ด้วยเหตุนี้ การศึกษาทาง ภูมิสารสนเทศ (geoinformatics) จะประกอบไปด้วยเนื้อหา 3 ส่วนหลัก คือ

1. การตรวจวัดจากระยะไกล (remote sensing)

2. การวิเคราะห์และแปลภาพ (image processing) และ

3. ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์และการประยุกต์ (GIS Applications)


จะเห็นได้ว่า ผังการทำงาน พื้นฐานของระบบ RS ร่วมกับ GIS จะแยกออกได้เป็น 4 ส่วน ดังนี้

1. การได้มาซึ่งข้อมูล (data acquisition)

2. การประมวลผลข้อมูล (data processing) และ

3. การแสดงผลการศึกษาและการจัดเก็บข้อมูล (data presentation and database management)

4. การประยุกต์ใช้ข้อมูลร่วมกับเทคนิคทาง GIS (GIS-based data application)


ในส่วนของ การได้มาซึ่งข้อมูล จะมีองค์ประกอบหลักอยู่ 2 ส่วน คือ

1. แหล่งข้อมูล (source) ในที่นี้ หมายถึง พื้นที่เป้าหมาย ของการสำรวจ ซึ่งอาจอยู่บนผิวโลกหรือในบรรยากาศของโลกก็ได้ แต่ที่สำคัญ ต้องเป็นเขตที่สามารถ สร้างหรือสะท้อน สัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (EM Wave)ออกมาได้ สำหรับเป็นสื่อในการตรวจวัดโดยอุปกรณ์ที่ใช้งานอยู่

2. เครื่องตรวจวัดจากระยะไกล (remote sensor) เป็นอุปกรณ์ซึ่งถูกออกแบบมาสำหรับการตรวจวัดสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งออกมาจากพื้นที่เป้าหมาย แยกตามช่วงคลื่นที่เหมาะสม โดยมันมักถูกมักติดตั้งไว้บนเครื่องบิน บอลลูน หรือ บนดาวเทียม ทำให้สามารถสำรวจผิวโลกได้เป็นพื้นที่กว้าง โดยข้อมูลที่ได้มักจัดเก็บไว้ในรูปของ 1. ภาพอนาลอก (analog image) หรือ 2. ภาพเชิงตัวเลข (digital image) เป็นหลัก

สำหรับในส่วนของ การประมวลผลข้อมูล จะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ส่วนหลัก คือ

1. การปรับแต่งและแก้ไขข้อมูล (data enhancement and correction) เป็นการปรับแก้ข้อมูลให้มีความถูกต้องและเหมาะสมสำหรับการประมวลผลมากยิ่งขึ้น โดยการปรับแก้จะแบ่งเป็น 2 แบบ หลัก คือ

1.1 การปรับแก้ ความคลาดเคลื่อนเชิงรังสี (radiometric correction) และ

1.2 การปรับแก้ความ คลาดเคลื่อนเชิงเรขาคณิต (geometric correction) ของภาพที่ใช้

2. การวิเคราะห์และแปลข้อมูล (data analysis and ininterpretation) เป็นการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอียด

เพื่อให้ได้ผลการศึกษาออกมาตามที่คาดหวัง ที่สำคัญคือเทคนิค การจำแนกองค์ประกอบ (classification)ของภาพดาวเทียม หรือ ภาพถ่ายทางอากาศ เป็นต้น  สำหรับในส่วนของ การแสดงผลการศึกษาและการจัดเก็บข้อมูล เป็นขั้นตอนของการเผยแพร่ผลการศึกษาต่อ  กลุ่มเป้าหมาย รวมไปถึงการจัดเก็บข้อมูลและผลการศึกษาดังกล่าว สำหรับใช้เป็น ฐานข้อมูล ของงานในอนาคต  ในรูปของผลิตภัณฑ์สารสนเทศ (IT product) เช่น บันทึก รายงาน หรือ สิ่งตีพิมพ์ เป็นต้น  ขั้นสุดท้าย คือการนำเอาข้อมูลและผลการศึกษาที่ได้จากกระบวนการทาง RS ไปใช้ ในการศึกษาวิจัยอื่น ๆ โดย ใช้เทคนิคทาง GIS (geographic information system) เข้ามาช่วย ซึ่งเราจะได้เรียนมากขึ้นในวิชา GIS


* ผังการทำงานพื้นฐานของระบบตรวจวัดจากระยะไกล (RS system)