จาก คำจำกัดความ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษดังกล่าว ทำให้เราสามารถ จำแนก องค์ประกอบของระบบการตรวจวัดจากระยะไกลออกได้เป็น 3 ส่วนหลัก คือ
1. แหล่งข้อมูลของการตรวจวัด (Sources) :ในที่นี้คือ พื้นผิว และ ชั้นบรรยากาศ ของโลก
2. อุปกรณ์การตรวจวัดจากระยะไกล (Remote Sensor) : ใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อ
3. ระบบการประมวลผลข้อมูล (Data Processing System) : ใช้ผู้ปฏิบัติการและระบบคอมพิวเตอร์
ในช่วงแรก ๆ คำว่า “Remote Sensing” จะใช้มากในการศึกษาวิจัยทางภูมิศาสตร์โดยเฉพาะการรังวัดภาพถ่าย
(photogrammetry) และการแปลภาพถ่ายทางอากาศและภาพดาวเทียมด้วยสายตาเป็นหลัก (เนื่องจากระบบ
คอมพิวเตอร์ยังไม่ได้รับการพัฒนามากนัก)
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ยุค 1970s เป็นต้นมา คำนี้มักถูกใช้กับงานสำรวจโดยอุปกรณ์ที่ติดตั้งไว้บน ดาวเทียม
สำรวจแผ่นดิน (land observation satellite) เช่น Landsat หรือ SPOT และดาวเทียมสำรวจสภาพอากาศ
ของโลก (weather satellite) เช่น GOES, GMS หรือ NOAA เป็นสำคัญ
สังเกตว่า “ดวงตา” (eyes) ของเรา อาจถือเป็นอุปกรณ์การสำรวจระยะไกลประเภทหนึ่ง โดยมีสมองของเราทำงานคล้ายกับเป็น หน่วยประมวลผล (processing unit) หรือหน่วยแปลความหมายของข้อมูลที่ได้รับผ่านสายตาของเรามา (มันทำงานคล้ายกล้องถ่ายรูป)